June 16, 2011
[download PDF 56 หน้า]
รายงานวิจัยฉบับเต็มชิ้นนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย 3 ปี เรื่อง “ความลี้ลับของข้อมูลข่าวสาร : ความรุนแรงและการไม่ใช้ความรุนแรงทางการเมืองในศตวรรษที่ 21 ของไทย” ซึ่งอยู่ภายใต้ชุดโครงการเมธีวิจัยอาวุโสช่วงที่ 2 ปีที่ 1 เรื่อง “สันติวิธีและความรุนแรงในสังคมไทย: ความรู้, ความลับ และ ความทรงจำ” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. โดยมี ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เป็นหัวหน้าชุดโครงการวิจัย
รายงานวิจัย ปีที่หนึ่งนี้ ผมตั้งชื่อเต็มว่า “Hate Speech และข้อมูลที่อันตราย : ทางเลือกวิธีตอบโต้ทางการเมือง” (Hate Speech & Harmful Information : Alternatives for Political Response)
ส่วนต้นของบทความนี้ เคยนำเสนอแล้วในเวทีวิชาการสาธารณะเพื่อพัฒนาคำถามวิจัย “ออนไลน์ศึกษา” จัดโดยกลุ่ม Thai Netizen ร่วมกับโครงการปริญญาเอก คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันจันทร์ 29 พ.ย. 2553
ขอขอบพระคุณ ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ และ รศ.ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ตลอดจนเพื่อนๆร่วมชุดโครงการวิจัย สำหรับการให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อบทความชิ้นนี้
อย่างไรก็ตาม ควรบันทึกขออภัย อ.อุบลรัตน์ ไว้เล็กน้อยในที่นี้ ว่ายังไม่มีเวลาปรับปรุงบทความตามข้อเสนอแนะอันมีประโยชน์ของ อ.อุบลรัตน์ เสียที ที่นำขึ้นมาแปะไว้ในโพสท์นี้ เพราะคิดว่า ถ้ารอให้เสร็จจริงๆ ก็คงอีกนาน ไม่ได้ขึ้นเสียที (หลังปีใหม่มานี้ เริ่มเข้าสู่สภาวะ “นักวิชาการกรรมกร” เหมือนนักวิชาการไทยหลายคน) จึงขอนำเวอร์ชั่นที่พอจะถือได้ว่าโอเคขึ้นมาก่อน (เวอร์ชั่นนี้ เสร็จมาตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมแล้ว)
รายงานวิจัยฉบับเต็มชิ้นนี้ มีความยาวค่อนข้างมาก [download PDF 56 pages] และคงจะได้มีโอกาสปรับให้เป็นเวอร์ชั่นที่สั้นลงเหลือ 15-20 หน้าในเร็วๆนี้ เมื่อนั้นคงมีโอกาสพยายามปรับแก้ตามคำแนะนำของ อ.อุบลรัตน์ อีกครั้ง แล้วจะนำขึ้นมาแปะไว้ในที่นี้อีกทีครับ
ตอนนี้ ถ้าไม่มีแรงอ่านเวอร์ชั่น 56 หน้า อาจจะอ่านจากสไลด์ที่เคยใช้นำเสนอรายงานวิจัยฉบับเต็มไปก่อนครับ [download presentation, 21 slides]
Like this:
Like Loading...
2 Comments |
academic, politics, science-technology studies, Thai, Violence/NonViolence | Tagged: ก่อการร้าย, ข้อมูลข่าวสาร, ความรุนแรง, ปิดกั้น, สันติวิธี, สื่อเสรี, ออนไลน์ศึกษา, อันตราย, เกลียดชัง, เซ็นเซอร์, เว็บไซต์, เสรีภาพ, เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น, โกรธแค้น, free speech, hate speech, online studies |
Permalink
Posted by chaisuk
November 30, 2010
นำเสนอในเวทีวิชาการสาธารณะเพื่อพัฒนาคำถามวิจัย “ออนไลน์ศึกษา” จัดโดยกลุ่ม Thai Netizen ร่วมกับโครงการปริญญาเอก คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันจันทร์ 29 พ.ย. 2553
—————————————–
[download PDF]
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง “ความลี้ลับของข้อมูลข่าวสาร : ความรุนแรงและการไม่ใช้ความรุนแรงทางการเมืองในศตวรรษที่ 21 ของไทย” [ดู proposal] ใน ชุดโครงการเมธีวิจัยอาวุโสช่วงที่ 2 ปีที่ 1 เรื่อง “สันติวิธีและความรุนแรงในสังคมไทย: ความรู้, ความลับ และ ความทรงจำ” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ตัวบทความชิ้นใหญ่ยังไม่เสร็จ แต่บทความขนาดสั้นนี้ ผมเขียนขึ้นเพื่อไปนำเสนอในเวทีวิชาการตามคำชวนของกลุ่ม Thai Netizen ซึ่งเป็นเวทีที่รวมนักศึกษาและนักวิชาการรุ่นใหม่ที่สนใจเรื่องอินเทอร์เน็ตและอะไรที่เกี่ยวกับโลกออนไลน์ มาพูดคุยกันได้อย่างน่าสนุกสนานทีเดียว
บทความชิ้นนี้ ผมลองเผชิญหน้ากับด้านมืดของอินเทอร์เน็ตและสังคมข้อมูลข่าวสารดูบ้าง คู่ปรับของผมในบทความนี้ คือ ข้อมูลข่าวสารประเภทที่เป็น hate speech และข้อมูลข่าวสารที่เป็นอันตราย (harmful information)
โดยพยายามตอบคำถามว่า หากยึดมั่นในหลักเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแล้ว เราควรมีท่าทีอย่างไรต่อการเซ็นเซอร์ hate speech และข้อมูลข่าวสารที่เป็นอันตราย และจะมีวิธีการรับมือกับทั้งสองเรื่องนี้อย่างไร โดยไม่ผิดหลักเสรีภาพ
[ดาวน์โหลดบทความนี้ – PDF 6 หน้า A4]
Like this:
Like Loading...
1 Comment |
essay, political philosophy, politics, science-technology studies, Thai, Violence/NonViolence | Tagged: ก่อการร้าย, ข้อมูลข่าวสาร, ความรุนแรง, ปิดกั้น, สันติวิธี, สื่อเสรี, ออนไลน์ศึกษา, อันตราย, เกลียดชัง, เซ็นเซอร์, เว็บไซต์, เสรีภาพ, เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น, โกรธแค้น, free speech, hate speech, online studies |
Permalink
Posted by chaisuk