“อ่าน” สันติวิธีในสังคมไทย : แผนที่นำเที่ยวสำหรับผู้มาใหม่

thai-nv-academic-map1

หมายเหตุ : นำเสนอในเวทีวิชาการ ในมหกรรมสันติวิธี ครั้งที่ 2, วันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2550 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ จัดโดย ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความชิ้นนี้ตั้งใจสื่อสารกับผู้ที่มีความสนใจเรื่องสันติวิธีอยู่บ้างแล้ว ดังนั้น จึงจะไม่กล่าวถึงว่าทำไมจึงต้องสนใจสันติวิธี? หรือสันติวิธีสำคัญอย่างไร? บทความชิ้นนี้ตั้งคำถามเกี่ยวกับสันติวิธีในสังคม (หรือวงวิชาการ) ไทยอยู่ 3 ประการ คือ

หนึ่ง พรมแดนแห่งความรู้เรื่องสันติวิธีในสังคมไทยมีขอบเขตครอบคลุมถึงที่แห่งใด?

สอง ภายในพรมแดนดังกล่าว แนวทางการวิเคราะห์หรือแนวทางการศึกษาสันติวิธีในสังคมไทยมีลักษณะอย่างไร?

สาม ณ ที่แห่งใดอีกบ้างที่เป็นพรมแดนแห่งความไม่รู้ของสันติวิธีของไทย?

ทั้งสามคำถามนี้ เป็นคำถามที่ผู้เขียนศึกษาสำรวจและวิจัยเพื่อตอบคำถามต่อตัวผู้เขียนเองด้วยเช่นกันในฐานะที่ “มาใหม่” ที่อยากมี “แผนที่” ในการเดินทางท่องเที่ยวไปในวงการสันติวิธีของไทย  ในการตอบคำถามแรก ผู้เขียนพยายามจะสำรวจเอกสารชิ้นที่คิดว่าสำคัญๆของไทยเท่าที่ได้สัมผัสมา ซึ่งแน่นอนว่ายังต้องมีอีกหลายชิ้นที่ผู้เขียนยังไม่ได้สัมผัสและรอคำชี้แนะจากผู้อ่าน สำหรับคำถามที่สาม “พรมแดนแห่งความไม่รู้”  นั้น เป็นอาณาเขตที่กว้างใหญ่ไพศาลมากกว่าพรมแดนแห่งความรู้ยิ่งนัก ผู้เขียนคงทำได้เพียงยกตัวอย่างหัวข้อศึกษา 4-5 หัวข้อ เพื่อให้เห็นประเด็นที่น่าศึกษาเพิ่มเติม ภายใต้ความตระหนักในความเล็กน้อยของพรมแดนแห่งความรู้ของตนเองไปพร้อมกันด้วย

>>> อ่านบทความเต็ม [PDF : 40 หน้า A4]

หมายเหตุ : ปรับปรุงอีกครั้งเมื่อวันที่ 29 เม.ย.2552 โดยเพิ่มรูปภาพ “แผนที่” ซึ่งอยู่ด้านบนสุด

Leave a comment