About

For English version, click here.
ดูประวัติฉบับเต็ม

ชาญชัย ทำงานเป็นนักวิชาการ ที่ปรึกษา (consulting) จัดฝึกอบรม (training) จัดกระบวนการ (facilitation) และโค้ชชิ่ง (coaching) เขาเชิญชวนผู้คนและองค์กรต่างๆให้กลับมาเชื่อมโยงกับเสียงลึกๆในตัวเอง ค้นพบแรงบันดาลใจและความหมายของชีวิตและการงานที่ทำ เพื่อก้าวเดินบนเส้นทางที่ใช่ของตนเอง ของทีม และขององค์กร  งานหลักของเขาคือการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง (conflict transformation) และเสริมสร้างความร่วมมือ (collaboration) 4 ระดับ ได้แก่ ภายในจิตใจตัวเอง, ระหว่างบุคคลที่สัมพันธ์ใกล้ชิดหรือในที่ทำงาน, ระดับกลุ่ม/ทีม/องค์กร และระดับสาธารณะ.  เขาทำงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคม ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

ปัจจุบัน ชาญชัยร่วมกับเพื่อน ก่อตั้ง CoJOY Consulting องค์กรที่ปรึกษาด้านการพัฒนาคนและองค์กร (human & organizational development) ในแนวทาง “องค์กรมีชีวิต” (living organization) ซึ่งมีรากฐานกระบวนทัศน์และแนวปฏิบัติการทำงานมาจากคัมภีร์บริหารองค์กรเล่มสำคัญของทศวรรษนี้ ที่เขาร่วมเป็นหนึ่งในทีมผู้แปล ชื่อ “กำเนิดองค์กรสายพันธุ์ใหม่” ซึ่งแปลมาจาก Reinventing Organization : A Guide to Creating Organizations Inspired by the Next Stage of Human Consciousness (เขียนโดย Frederic Laloux, 2014) (ดูคลิปเสวนาหนังสือ ตอน 1 & ตอน 2)

ชาญชัย ใช้แนวทางแบบองค์รวม ทั้งทักษะด้านการฟังอย่างลึกซึ้ง การหยั่งรู้ภายใน (intuition) และความกล้าเสี่ยงข้ามขอบบางอย่าง (edge walking) ประกอบเข้ากับความฉลาดทางอารมณ์และทางกาย (emotional & somatic intelligence)  และการหาเป้าประสงค์เชิงวิวัฒน์ (evolutionary purpose) ของตนเองและองค์กร ในการเอื้ออำนวยให้ปัจเจก ทีม ผู้นำ และทั้งองค์กร สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วภายนอกและความท้าทายต่างๆภายใน ทั้งเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนทำงาน ทีมเวิร์ค หรือการปฏิสัมพันธ์ระหว่างแผนก และแปรเปลี่ยนเป็นความร่วมมืออย่างเต็มใจ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และขับเคลื่อนสู่ทางออกและความหวังได้.

ชาญชัยเป็นอดีตนักศึกษาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ด้านปัญญาประดิษฐ์หุ่นยนต์ (robotic artificial intelligent) ในระดับปริญญาตรีและโท เขาทำงานเป็นนักวิชาการด้านสันติภาพและความขัดแย้งศึกษาราวหนึ่งทศวรรษ ตั้งแต่เมื่อครั้งเรียนปริญญาเอกด้านรัฐศาสตร์ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กระทั่งลาออกจากมหาวิทยาลัยมหิดลในปี 2558.  เขาได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดกระบวนการกลุ่ม (group facilitation) การโค้ช และจิตวิทยาหลากหลายแนวทาง ทั้งในไทยและต่างประเทศ เช่น การสื่อสารอย่างสันติ (Nonviolent Communication),  จิตวิทยางานกระบวนการ & ประชาธิปไตยเชิงลึก (Process Work Psychology & Deep Democracy) การโค้ชเพื่อการแปลงเปลี่ยน (Coaching for Transformation), จิตบำบัดแนวซาเทียร์ (Satir Transformational Systematic Therapy), การตัดสินใจร่วมแบบ Convergent Facilitation เป็นต้น.

ด้วยภูมิหลังดังกล่าวนี้ ทำให้เขาสามารถนำมาใช้กับงานด้านๆต่างที่ทำงานกับ “ของจริง” ได้หลากหลายระดับและประเด็น  อาทิ ความขัดแย้งรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย, ความขัดแย้งกรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของไทย, ความขัดแย้งทางศาสนาและชาติพันธุ์ในประเทศเมียนมาร์, การคลี่คลายความขัดแย้งในกลุ่มผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคมหาวิทยาลัย และภาคประชาสังคม ฯลฯ

ชาญชัยยังผ่านการอบรมให้เป็น Professional Coach for Transformation จากสถาบัน Leadership that Works (USA) ซึ่งได้รับการรับรองวิทยฐานะ (Accredited Coaching Training Program : ACTP) จาก International Coach Federation (ICF). เขาทำงานโค้ชบุคคล ในประเด็นความสัมพันธ์ในครอบครัว คู่ชีวิต คู่รัก การบริหารองค์กร การทำงานเป็นทีม. ผู้รับการโค้ช (client) ของเขามีทั้งคนไทยและคนต่างประเทศ เช่น อินเดีย, ฮ่องกง, เกาหลีใต้, เมียนมาร์, สาธารณรัฐเชค, อเมริกัน เป็นต้น  และมีอาชีพการงานที่หลากหลาย ตั้งแต่ เจ้าหน้าที่สหประชาชาติ, เจ้าของธุรกิจ, ผู้บริหารองค์กร, ผู้จัดการ, พนักงานบริษัท, เจ้าหน้าที่อาวุโส องค์กรภาครัฐ, พระ, แพทย์/จิตแพทย์, พยาบาล, ผู้สอนการโค้ช โค้ชด้านธุรกิจ, โค้ชสำหรับนักกีฬาทีมชาติ, นักแต่งเพลง เป็นต้น

การศึกษา

  • 2558 : Certified – Professional Coach for Transformation, certified  from Leadership that Works (USA) – ICF Accredited Coaching Training Program (ACTP), Mumbai, India.
  • 2548-2553 : รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต จาก คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับสนับสนุนทุนการศึกษาจาก โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก “เทคโนโลยีกับการต่อสู้ทางการเมืองโดยไร้ความรุนแรง : ศึกษากรณีอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย” (วิทยานิพนธ์ดีเด่น)
  • 2542-2544 : วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต จาก คณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  • 2538-2541 : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต จากคณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ประสบการณ์ทำงาน

  • 2564-ปัจจุบัน : ผู้จัดการโครงการ Creating Safer Space : Strengthening Unarmed Civilian Protection amidst Violent Conflict (Asia)” by Faculty of Political Science, Chulalongkorn University (Thailand), in collaboration with Department of International Politics, Aberystwyth University (UK), financed by the Arts and Humanities Research Council (AHRC) through the Global Challenges Research Fund (GCRF)
  • 2563-ปัจจุบัน : นักวิจัยโครงการ “เพื่อนรักต่างศาสนา : ผู้นำการขับเคลื่อนถักทอสันติภาพและการปรองดองในสังคมไทย” สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
  • 2561-ปัจจุบัน : ผู้ร่วมก่อตั้ง CoJOY Consulting องค์กรที่ปรึกษา ฝึกอบรม จัดกระบวนการ (facilitation) และโค้ชชิ่ง ด้านการพัฒนาคนและองค์กร ตามแนวทาง “องค์กรมีชีวิต” (living organization) (ดูคลิปร่วมรายการโทรทัศน์)
  • 2562 (กันยายน-ธันวาคม) : แขกรับเชิญประจำสัปดาห์ รายการวิทยุ “หยิบมาถก ยกมาคุย ยามบ่าย”สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย FM 101.5 MHz
  • 2558-2561 : ทำงานอิสระเป็นนักฝึกอบรม กระบวนกร (facilitator) และโค้ช ด้านการแปลงเปลี่ยนคลี่คลายความขัดแย้ง (conflict transformation & resolution) และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและรักษาใจคน
  • 2557 – 2558 : อาจารย์ประจำ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
  • 2553 – 2557 : อาจารย์ประจำ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา (ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี (เดิม)) มหาวิทยาลัยมหิดล
  • 2551 (กรกฎาคม-พฤศจิกายน) : Research Trainee at Faculty of Arts, University of Wollongong, ออสเตรเลีย โดยได้รับสนับสนุนทุนการศึกษาจาก โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
  • 2544 – 2548 : ผู้ช่วยวิจัย ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

งานวิจัย

  • กรกฎาคม 2565 – เมษายน 2566 : “การศึกษาและทดลองดำเนินงานกระบวนการรับรององค์กรส่งเสริมคุณธรรม” (A Study and Experiment on Implementing Moral Organization Accreditation Process) สนับสนุนโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ร่วมกับ อัจฉรีย์ อำไพกิจพาณิชย์, ลัญชกร คำศรี, รุจิรัตน์ ดุรงค์วิริยะ
  • 2565 : โครงการวิจัย “การศึกษาและพัฒนาการสื่อสารด้วยความเข้าใจระหว่างคนต่างรุ่นในองค์กร” (A Study and Development on Empathic Communication across Generation in Organization) สนับสนุนโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ร่วมกับ อัจฉรีย์ อำไพกิจพาณิชย์, นริศ มณีขาว, รุจิรัตน์ ดุรงค์วิริยะ
  • 2564 : โครงการวิจัย “การศึกษาและพัฒนากระบวนการรับรององค์กรส่งเสริมคุณธรรม” (A Study and Development for Moral Organization Accreditation Process) สนับสนุนโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ร่วมกับ ดร.ศักดิ์ชัย อนันต์ตรีชัย และเสาวนีย์ สุวรรณรงค์
  • กันยายน 2563 – สิงหาคม 2564 : โครงการวิจัย “เพื่อนรักต่างศาสนา : ผู้นำการขับเคลื่อนถักทอสันติภาพและการปรองดองในสังคมไทย” (Interfaith Buddy : Leaders for Weaving Peace and Reconciliation in Thailand) สนับสนุนทุนโดย โครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (ร่วมกับ ดร.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์) (ดู facebook page : Interfaith Buddy for Peace)
  • 2563 : โครงการวิจัย “สถานะสุขภาพฮุจญาตไทย และมุมมองต่อภาระจากภาวะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” (Thai Hajj Pilgrim Health Status and Perspective on Burden from Non-Communicable diseases), คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ร่วมกับ มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ, ฤทัยชนนี สิริชัย, และ ซุลกิฟลี ยูโซะ)
  • 2562 : โครงการวิจัย วิเคราะห์ภาวะอขันติธรรมระหว่างศาสนาในสังคมไทย ผ่านการแสดงความคิดเห็นในสื่อออนไลน์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) สนับสนุนทุนโดย โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) (ร่วมกับ เอกรินทร์ ต่วนศิริ และ ดร.ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา)
  • 2558 : โครงการวิจัย “การแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : กรณีศึกษาระบบพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศไทย” ได้รับทุนสนับสนุนงบประมาณแผ่นดิน ปี 2557 ผ่านทางมหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (ร่วมกับ ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย)
  • 2556 : โครงการวิจัย ความเสี่ยงภัยและความขัดแย้งทางเทคโนโลยีได้รับทุนสนับสนุนงบประมาณแผ่นดิน ปี 2555 ผ่านทางมหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (ร่วมกับ ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย)
  • 2553-2555 : โครงการวิจัย “ความลี้ลับของข้อมูลข่าวสาร : ความรุนแรงและการไม่ใช้ความรุนแรงทางการเมืองในศตวรรษที่ 21 ของไทย” ใน โครงการเมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ช่วงที่ 2 เรื่อง “สันติวิธีและความรุนแรงในสังคมไทย: ความรู้, ความลับ และ ความทรงจำ” [อ่านรายงานวิจัยปีที่ 1; ปีที่ 2]
  • 2549 : โครงการวิจัย “วิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาวะทางสังคม : การริเริ่มจากเยาวชน,” สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับปกรณ์ เลิศเสถียรชัย, อลิสา หะสาเมาะ, และสุริชัย หวันแก้ว [อ่านรายงานฉบับเต็ม]

งานเขียน/งาน(บ.ก.)แปลที่ตีพิมพ์ (บางส่วน)

ประสบการณ์คลี่คลายความขัดแย้ง

(ดูคลิปสนทนาถอดบทเรียนประสบการณ์)

  • จัดชุดการอบรม เป็นคนกลาง และจัดกระบวนการ ต่อเนื่อง 2 ปี ในเรื่องการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลาย ให้กับกลุ่มพระสงฆ์ แม่ชี ฆราวาส ในประเทศเมียนมาร์. ผลการจัดกระบวนการ คือ พระกลุ่มต่างๆรู้สึกเชื่อมโยงกันมากขึ้น สามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และรู้สึกมีความหวังว่าจะสามารถแสวงหาความเข้าใจร่วมกันได้อีกครั้งหนึ่ง (จัดโดย Buddhist Intrafaith Peace Program, เสมสิกขาลัย ประจำประเทศเมียนมาร์)
  • จัดกระบวนการคลี่คลายความขัดแย้งที่มีความรุนแรง ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย เพื่อคลี่คลายความรู้สึกไม่ไว้วางใจต่อกันระหว่างคนพุทธกับคนมุสลิม จนทั้งสองฝ่ายสามารถรู้สึกเห็นอกเห็นใจกันได้มากขึ้น และตระหนักถึงอุปสรรคร่วมได้ (ร่วมกับทีมที่สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล) – ดูบทบันทึกภาคสนาม (ภาษาไทยภาษาอังกฤษ)
  • จัดกระบวนการขับเคลื่อนความขัดแย้งที่ชะงักงัน ระหว่างกลุ่มสนับสนุนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย และกลุ่มต่อต้าน จนทำให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเปิดใจสื่อสารกันและพร้อมที่จะรับฟังกันและกันได้อีกครั้งหนึ่ง (ภายใต้โครงการวิจัย “การแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : กรณีศึกษาระบบพลังงานนิวเคลียร์ของไทย” – อ่านบทสรุปสำหรับผู้บริหาร (executive summary)
  • จัดกระบวนการแบบฟอรั่มเปิด (Open Forum) ในประเด็นความขัดแย้งด้านนโยบายพลังงานของไทย โดยเชิญคู่ขัดแย้ง 2-3 ฝ่ายมาให้มุมมองที่แตกต่างกัน ในช่วง Briefing Session ใน International Training ของ Rotary Peace Center (Thailand), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • จัดกระบวนการ “Deeply Team Building” ให้ผู้บริหารบรรษัทข้ามชาติแห่งหนึ่ง เพื่อคลี่คลายความขัดแย้งและสามารถสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ข้ามกลุ่มฟังก์ชั่นงานได้ และเพื่อดำเนินการแผนการบริหารวิกฤติ และภายในบริบทความไม่มั่นคงทางการงานหลังการควบรวมกิจการ.
  • จัดชุดกระบวนการต่อเนื่อง 9 เดือน  เพื่อคลี่คลายความขัดแย้งที่ยืดเยื้อและร้าวลึก ให้กับกลุ่มผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง และเจ้าหน้าที่อาวุโส ขององค์กรแห่งหนึ่งที่กำลังอยู่ในภาวะวิกฤติ จนผู้บริหารแต่ละคนสามารถกลับมาเชื่อมโยงสัมพันธ์กันด้วยความไว้วางใจ และสามารถร่วมกันวางแผนขั้นถัดไปเพื่อรับมือภาวะวิกฤติขององค์กรได้อย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง (ดูบทใคร่ครวญจุด peak ครั้งหนึ่ง : ภาษาไทยภาษาอังกฤษ)
  • จัดกระบวนการให้กับบริษัทธุรกิจ เพื่อแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งระหว่างแผนก ให้กลายเป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และยอมรับกับความแตกต่างในจุดยืนของกันและกันได้
  • จัดกระบวนการสร้างพลังกลุ่มและคลี่คลายความขัดแย้ง ให้กับองค์กรพัฒนาเอกชนระดับประเทศ ของประเทศเมียนมาร์ เพื่อเปลี่ยนสภาวะหมดพลังหมดไฟในการทำงาน ให้กลายเป็นความรู้สึกมีพลังและสามารถรักษาสมดุลการทำงานได้

Clip Video

This slideshow requires JavaScript.

อยู่กับ Hate Speech รู้เส้นแบ่ง เพื่อรับมือ. The Active Podcast (ThaiPBS) 27 ธันวาคม 2563 [ดูสรุปกรอบแนวคิด 1 หน้า]

.

This slideshow requires JavaScript.

“ความขัดแย้ง ความสัมพันธ์ ความร่วมมือ : บทเรียนจากงานคลี่คลายความขัดแย้งและสร้างความร่วมมือในองค์กร”  ร่วมพูดคุยกับ อัจฉรีย์ อำไพกิจพาณิชย์, ภัทร กิตติมานนท์, และชาญชัย ชัยสุขโกศล เมื่อ 26 ธันวาคม 2563. จัดโดย The Reflection (โรงเรียนพัฒนากร)
.
.

This slideshow requires JavaScript.

“Sacred Empathy Circle + Soul Purpose : Introduction for Empathy Festival#2” โดย ดร.ชาญชัย ชัยสุขโกศล และอัจฉรีย์ อำไพกิจพาณิชย์ (ผู้ร่วมก่อตั้ง CoJOY Consulting) สัมภาษณ์โดย ดร.ไพรินทร์ โชติสกุลรัตน์ (PeaceAcademy) 1 ธันวาคม 2563 จัดโดย ทีมงาน Empathy Festival.

.

This slideshow requires JavaScript.

The GREAT Book : หนังสือ”Reinventing Organization” (ภาคสอง) ร่วมพูดคุยกับผู้แปลทั้งสาม ภัทร กิตติมานนท์, โชติวุฒิ อินนัดดา, ชาญชัย ชัยสุขโกศล เมื่อ 2 สิงหาคม 2563. จัดโดย The Reflection (โรงเรียนพัฒนากร)
.

This slideshow requires JavaScript.

“The Great Book Talk : Reinventing Organization,” ร่วมพูดคุยกับผู้แปลทั้งสาม ภัทร กิตติมานนท์, โชติวุฒิ อินนัดดา, ชาญชัย ชัยสุขโกศล เมื่อ 14 มิถุนายน 2563. จัดโดย The Reflection (โรงเรียนพัฒนากร)
.

TV interviewพูดคุยร่วมกับอัจฉรีย์ อำไพกิจพาณิชย์ (ผู้ร่วมก่อตั้ง CoJOY Consulting) ให้หัวข้อ “ถึงเวลาใช้บริการ…ที่ปรึกษาองค์กร?!!” ในรายการสยามไทยอัพเดท ดำเนินรายการ ขจรศักดิ์ เชาว์เจริญรัตน์ ออกอากาศ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2562 ช่อง 13 สยามไทย และทาง YouTube Channel “13 SiamThai”
.

1543897017026พื้นที่ความรู้สึกปลอดภัยในองค์กร (Psychological Safety) – จัดโดยทีมที่ปรึกษา โรงเรียนพัฒนากร (2018)
.

FB_IMG_1543897146074เสียงขององค์กร ตอนที่ 2 – จัดโดยทีมที่ปรึกษา โรงเรียนพัฒนากร (2018)
.

Screenshot_2018-12-04-23-45-13-1.pngการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง (conflict transformation) ร่วมกับณัฐฬส วังวิญญู และธีรวัฒน์ ตันติวิรมานนท์ – ใน Awakening Leadership Training Program 2017
.

Screenshot_2018-12-05-15-32-17.pngสอน จิตวิทยางานกระบวนการ (Processwork) ร่วมกับอัจฉรีย์ อำไพกิจพาณิชย์ (นาทีที่ 3.20-4.40) ใน English for Engaged Social Service 2016, จัดโดย International Networks of Engaged Buddism (INEB)
.

Screenshot_2018-12-05-16-12-35-1Processwork & Worldwork (2015) ร่วมกับ กัญญา ลิขนสุทธิ์ ใน เสวนา “เถียงกันด้วย ‘อารมณ์’, ‘เหตุผล’ เดือดพล่าน : ประสบการณ์ประชาธิปไตยเชิงลึกและวิธีพูดคุยแบบ Process Work Psychology (จิตวิทยางานกระบวนการ) ที่โปแลนด์” 15 กันยายน 2557 ณ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

——————————