annotation : กระบวนการจัดการความจริง

สมบัติ จันทรวงศ์ (2549), “กระบวนการจัดการกับความจริง : การศึกษามิติและพลวัตของความเปลี่ยนแปลงของ “ความจริง” ในสังคมไทย” ใน พวงทอง รุ่งสวัสดิทรัพย์ ภวัครพันธุ์ (2549), สงครามเวียดนาม : สงครามกับความจริงของ “รัฐไทย”, กรุงเทพฯ : คบไฟ. หน้า (9)-(41)

[ดู summary ของบทความนี้]

อธิบาย “ความทรงจำ” ที่ถูกทำให้เงียบและเลือนหายไป โดยใช้เหตุการณ์ความรุนแรงขนานใหญ่ปี 1965 ในอินโดนีเซีย. การคัดค้านอย่างรุนแรงต่อการตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความจริงและการปรองดองแห่งชาติ เพื่อสืบหาความจริงในกรณีติมอร์ตะวันออก อิเรียนจายา อาเจะห์ และเหตุการณ์เมื่อปี 1965 ด้วยเกรงจะเป็นการเปิดบาดแผลของชาติและสนับสนุนให้เกิดการแก้แค้น. ความจริงเชิงข้อเท็จจริง” (Factual Truth) ซึ่งแตกต่างจาก “ความจริงเชิงเหตุผล” (Rational Truth) ในแง่การยืนหยัดไม่สะทกสะท้านต่อการโต้เถียงหรือความเห็นตรงข้ามหรือการประนีประนอมไปตามการหว่านล้อมและการให้เหตุผล และมักถูกอำนาจทางการเมือง “จัดการ” ผ่านการเขียนประวัติศาสตร์เสียใหม่. “ความจริง” ส่วนบุคคล กับการปรับตำแหน่งแห่งที่ของชุด “ความจริง/จำ” ของสังคมที่ต้องสอดคล้องกันเพื่อให้กลับเ้ข้าร่วมเป็นสมาชิก (re+member) ของสังคมได้อย่างสันติ. “ความจริง”/“ประวัติศาสตร์” คนละชุดของผู้คนแห่ง “ปัตตานี” กับ “สยาม”. ยุควัฒนธรรมมุขปาฐะกับ “ความจริง” ที่เป็นความจำอยู่ในตัวบุคคล. วัฒนธรรมการเขียนกับ “ความจำ” ที่ถูกเก็บไว้นอกตัวมนุษย์ ซึ่งต้องอาศัยความเป็นสถาบันเพื่อ “จำ” อดีตผ่านการสร้าง “กาละ” หรือวันสำคัญที่ควรจดจำ และ “เทศะ” หรือกำหนดสถานที่เพื่อสร้างอนุสาวรีย์ รวมทั้งการตั้งมูลนิธิหรือสถาบันโดยใช้ชื่อบุคคลที่ควรจดจำ.

Leave a comment